วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รายการพื้นที่ชีวิต



พื้นที่ชีวิต - วิจัยชีวิต 1


   เนื่องจาก Blogger ของผมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการค้นหาความหมายของชีวิต ซึ่งรายการนี้ให้สาระ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผมสนใจ

บทความธรรมะ 2


โลกกลียุค


โลกทุกวัน อยู่ในขั้น กลียุค
ที่เบิกบุก เร็วรุด ถึงจุดสลาย
จนสิ้นสุด มนุษยธรรม ด่ำอบาย
เพราะเห็นกง –จักรร้าย เป็นดอกบัว

กิเลสไส- หัวส่ง ลงปลักกิเลส
มีความแกว่น แสนวิเศษ มาสุมหัว
สามารถดูด ดึงกันไป ใจมืดมัว
เห็นตนตัว ที่จมกาม ว่าความเจริญ

มองไม่เห็น ศีลธรรม ว่าจำเป็น
สำหรับอยู่ สุขเย็น ควรสรรเสริญ
เกียรติ กาม กิน บิ่นบ้า ยิ่งกว่าเกิน
แล้วหลงเพลิน ความบ้า ว่าศีลธรรมฯ  


โลกอนิจจัง


ตามธรรมดา ถ้าไม่มี ความเปลี่ยนแปลง
มาบังแฝง คนจะเบื่อ จนเหลือที่
จะเป็นคน ทนอยู่ ในโลกนี้
หนักเข้ามี แต่อยาก จะดับไป

ดับจากโลก เพราะโลก มันน่าชัง
แต่ใครบ้าง รู้สึก เช่นนี้ได้
เพราะโลกมี อนิจจัง บังเอาไว้
คนเราใช้ อนิจจัง ขังตัวเองฯ  

โลกพัฒนาที่เรียกว่า Developed

ดูจะเพื่อ จุดจบ เสียมากกว่า

หรืออย่างน้อย ให้จบเร็ว กว่าธรรมดา

นึกแล้วพา อนาถใจ ใคร่ท้วงติง

เร่งพัฒนา เหมือนเร่งฆ่า ให้ตัวตาย

ทรัพย์ธรรมชาติ วอดวาย คล้ายกับวิ่ง

ผลได้มา เฟ้อกว่า ความเป็นจริง

จนยุ่งขิง กันไปหมด อดเยือกเย็น

 

โลกพัฒนา วัตถุเหลือ เหนือคุณธรรม

ไม่อิ่มหนำ ไม่คิดเปลื้อง พวกเรื่องเหม็น

เรื่องอวกาศ เรื่องอาละวาด เกินจำเป็น

ยิ่งโลดเต้น ยิ่งสุมโศก โลกพัฒนาฯ

บทความธรรมะ 1


"สิบปีในสวนโมกข์"  บทความที่เล่าเรื่องราวการฝึกฝนปฏิบัติธรรม
ของท่านอาจารย์พุทธทาสในช่วงสิบปีแรกที่เริ่มตั้งสวนโมกข์
เป็นตัวอย่างแห่งความมานะพากเพียร เพื่อไปสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิต
 "อนัตตา มีแต่ในพุทธศาสนาเท่านั้น หามีในศาสนาอื่นๆ ไม่
แต่ทำไมเราจึงไม่เอาธรรมะข้อนี้มาเป็นหลักสั่งสอนประชาชนโดยตรง.."
บางตอนจาก "หลักอนัตตา กับการอบรมประชาชน"   
"...พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง
มิใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนพระเป็นเจ้าผู้มีอำนาจ
หรือ เป็นศาสนาแห่งการแลกเปลี่ยนทำนองการค้าขาย-ทำบุญ ทำทาน
แลกนางฟ้าในสวรรค์ หรือ อะไรทำนองนี้ แต่ประการใดเลย
และเพราะความที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง
โดยมีเหตุผลเพียงพอแก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่าเป็น ศาสนาแห่งเหตุผลด้วย..."
บางตอนจาก "พุทธศาสนา ศาสนาแห่งการบังคับตน"
"ความสำราญทางกายหรือฝ่ายโลกนั้นต้องดื่มหรือต้องกินอยู่เสมอ จึงจะสำราญ
แต่ที่แท้มันเป็นเพียงการระงับหรือกลบเกลื่อนความหิวไว้ทุกชั่วคราวที่หิวเท่านั้น
ส่วนความสำราญทางฝ่ายใจหรือฝ่ายธรรมนั้น ไม่ต้องดื่มไม่ต้องกินก็สำราญอยู่เอง
เพราะมันไม่มีความหิว ไม่ต้องดื่มกิน เพื่อแก้หิว ที่กล่าวนี้..."
บางตอนจาก "อาหารของดวงใจ"
คุณค่าของปริยัติ   
"บทความชิ้นนี้ ทำให้ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับบัตรสนเท่ห์
ด่าว่าอย่างหาชิ้นดีมิได้ จาก บุคคลบางคน แม้ที่เป็นบรรพชิต
และขอร้องให้คณะธรรมทานลงมติขับท่านออกจากกลุ่มชาวคณะธรรมทานให้ได้."
อ่าน บทความ เรื่อง "ความกลัว" แล้วคุณจะชนะความกลัว!
 "ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่าได้รับผลอันเด็ดขาดแท้จริงอย่างไร
จากฤทธิ์นั้นทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ.." บางตอนจาก "ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์"
"บุญเป็นการทำให้โป่ง กุศลเป็นการถากถางให้เตียน
การให้ทานที่เห็นเหมือนๆกัน แต่เป็นบุญก็ได้ เป็นกุศลก็ได้.."
อยากรู้ว่าทำไม อ่าน "บุญ-กุศล"

สวนโมกข์ในอนาคต


แม้ชีวิตในวันนี้ของท่านอาจารย์ จะต้องอยู่กับความเจ็บป่วยตามเหตุปัจจัยแห่ง
ธรรมชาติ แต่ก็เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่เคยแยกห่างออกจากธรรมะ จนกล่าวได้ว่า
ท่านพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติแห่งพุทธทาสภิกขุ ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต ตาม
รอยแห่งพระบรมศาสดานั่นเอง 
นับจากวันวิสาขบูชา ๒๔๗๕ ซึ่งพระมหาหนุ่มนาม "เงื่อม"
เริ่มต้นการเดินทางเพื่อตามรอยแห่งพระอริยเจ้ามาจนกระทั่ง
ถึงวิสาขบูชา ๒๕๓๕ นี้ การเดินทางของท่านและสวนโมกข
พลารามได้ยาวนานมาถึง ๖๐ ปีแล้ว อุดมคติอันมุ่งมั่นที่จะ
ค้นหาให้พบในวันเริ่มต้น ได้ค้นพบแล้ว ปณิธานที่จะประกาศ
ธรรมซึ่งค้นพบนั้นแก่ชนร่วมสมัย ก็ได้บรรลุแล้ว

สวนโมกขพลาราม คือมรดกสำคัญที่ท่าน
อาจารย์พุทธทาส และสหายธรรมผู้ร่วมก่อตั้ง
ได้มอบไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง สวนโมกข์ในความ
หมายของรูปธรรม อาจเปลี่ยนแปลงไปตาม
กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และตามเหตุปัจจัย
ของผู้อยู่หลัง แต่ความหมายในเชิงนาม
ธรรมแล้ว "สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความ
หลุดพ้นจากทุกข์" นี้จะไม่มีวันดับสูญ และ
ไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา หาก
สามารถจะเกิดและดำรงอยู่ในทุกๆ ที่แม้ใน
บ้านเราเอง! ด้วยธรรมะที่ท่านอาจารย์
พุทธทาสได้ปักหลักเผยแผ่อยู่ที่สวนโมกข์
เป็นเวลาถึง ๖ ทศวรรษนี้ เป็นธรรมะที่ไม่มี
วันตาย และจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
และสถานที่ เพราะเป็นกฏสูงสุดแห่ง
ธรรมชาติ ซึ่งพระบรมศาสดาเป็นผู้ค้นพบ
และท่านอาจารย์ คือพุทธสาวกผู้นำผ่านกาลเวลานับพันปี มาพิสูจน์ให้ประจักษ์
แก่ชนร่วมสมัยอีกครั้ง ธรรมะนี้จึงมิใช่มีอยู่เพียงที่สวนโมกข์ไชยา และมิใช่ธรรมะ
ของชาวพุทธหากคือธรรมะของมนุษยชาติ ที่จะคงคุณค่าอยู่เสมอไป ตราบเท่าที่
คนเรายังมีความทุกข์ และต้องการดับทุกข์นั้น ธรรมะนี้จะยิ่งทวีค่าทวีคูณยิ่งขึ้นอีก
ในสังคมของอนาคต ด้วยเส้นทางที่สังคมเวลานี้เดินอยู่นั้นกำกับไว้ด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ที่มุ่งเพียงการแสวงหาความสุขจากวัตถุอย่างสุดขั้ว ธรรมะอันชี้นำทางแห่งการ
หลุดพ้นจากพันธนาการของวัตถุ จึงมีค่าดังประทีปในความมืดเช่นไรก็เช่นนั้น
สำหรับท่านอาจารย์พุทธทาส ผู้จุดดวง
ประทีปดังกล่าวให้แก่ชนร่วมยุคของท่าน
ก็เช่นกัน "พุทธทาสภิกขุ" ในความหมาย
ของรูปธรรม จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม
อายุขัย แต่ในความหมายของนามธรรมแล้ว
พุทธทาสจักไม่มีวันตาย ดังบทกวีเพลงที่
ท่านได้แต่งไว้เป็นอนุสติแก่ผู้อยู่หลัง แม้
ก่อนหน้านี้เอง ท่านก็ได้เคยปรารภให้เป็น
ข้อคิดว่า จะต้องระวังมิให้สวนโมกข์และ
พุทธทาสภิกขุในความหมายแห่งรูปธรรม
กลายเป็นภูเขาหิมาลัยขวางทางแห่งการ
เห็นแจ้งของคนทั้งหลาย นั่นนคือ การศึกษา
และปฏิบัติธรรม จะต้องมุ่งที่ธรรม มากกว่า
การยึดตัวบุคคล สำนัก หรือ สถานที่ ฯลฯ
เพราะตราบเท่าที่ยังมีการปฏิบัติดี ปฏิบัติ
ชอบ โลกจะไม่เคยว่างเว้นจากพระอรหันต์

สวนโมกข์กำเนิดขึ้นด้วยศรัทธาและปัญญาที่เห็นจริงในข้อนี้ และจะดำรงอยู่ต่อไป
ในอนาคตก็ด้วยความประจักษ์แจ้งในหลักการข้อนี้เช่นกัน

สวนโมกข์วันนี้


แม้สวนโมกข์จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๖๐ แห่งการก่อตั้ง
แต่ปณิธานแห่งการทำงานเพื่อรับใช้พระศาสนาและ
เพื่อนมนุษย์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กิจวัตร
ของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
กิจวัตรของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมา
ในอดีต เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่สิ่งที่จำต้อง
เปลี่ยนแปลงไปคือ การหมุนเวียนของพระเณรทั้งเก่าและ
ใหม่และกายสังขารของท่านอาจารย์ที่ล่วงเข้าสู่วัยชราตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติ
ท่านอาจารย์พุทธทาส อาพาธหนักครั้งแรก
เมื่อ ปี ๒๕๑๘ ขณะอายุได้ ๖๙ ปี โดยเข้า
รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และ
อาพาธหนักอีกครั้งในปี ๒๕๒๘ เมื่ออายุ
ได้ ๗๙ ปี จนเมื่อปลายเดือนตุลาคม
๒๕๓๔ ขณะอายุได้ ๘๕ ปีเศษ หลังจาก
การแสดงธรรมติดต่อกันถึง ๖ วัน วันละ
๒ ชั่วโมง ท่านก็มีอาการอาพาธรุนแรง
อีกครั้งหนึ่ง การอาพาธในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกับเมื่อ ปี ๒๕๒๘ คือท่านตัดสินใจ
ขอรับการรักษาตัวอยู่ที่สวนโมกข์ โดยขณะที่กำลังอาพาธหนัก มีอาการอันน่าวิตก
ว่า อาจจะดับขันธ์ได้ทุกเมื่อนั้น  ท่านได้กล่าวแก่คณะสงฆ์และแพทย์ที่กราบ
อาราธนาท่านเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลว่า "ขอบใจ ขอบใจอย่างสูง
ขอให้การอาพาธครั้งนี้เป็นการศึกษาของอาตมาอย่างยิ่ง ขอรับการรักษา
อย่างธรรมชาติ อย่างครั้งพุทธกาลอยู่ที่วัด" (๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔)
ท่านอาจารย์เห็นว่า สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ควรหอบสังขารหนีความตาย
(ดังที่การแพทย์สมัยใหม่มักใช้วิทยาการต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างผิดธรรมชาติ
ด้วยเครื่องมือและสายระโยงระยางจำนวนมากมาย) ท่านอาจารย์ได้แสดงออก
ซึ่งรูปธรรมของ "การเตรียมตัวตายอย่างมีสติ" ให้ผู้ใกล้ชิดได้เรียนรู้
และนี่คือสิ่งที่ "พุทธทาสภิกขุ" ได้ปฏิบัติมาตลอดชีวิต
แห่งการทำงานเป็นผู้รับใช้ของพระพุทธองค์ นั่นคือ
การศึกษาค้นคว้าธรรมะ และที่สำคัญคือ การพิสูจน์
ธรรมะแก่สาธุชนด้วยตัวของท่านเอง แม้ว่าการทดลอง
ศึกษาธรรมในครั้งนี้ จะต้องเผชิญกับภาวะอันเจ็บปวด
และทรมานอย่างที่คนทั่วไปยากจะทนได้ แม้เพียง
ขณะเดียว แต่ท่านได้ทนกับภาวะน้ำคั่งท่วมปอด จนไอ
มีเสมหะปนเลือด อาการคลื่นไส้ ปวดมวนในท้องอย่างรุนแรง หอบ มีไข้
หัวใจเต็นผิดจังหวะ ไม่สามารถจะพักผ่อนนอนราบ และฉันภัตตาหารไม่ได้
อยู่นานถึง ๔ วัน กว่าที่จะมีแพทย์มาถวายการรักษาอย่างเป็นทางการ เป็น
การอดทนที่อาศัยขันติอันผูกเนื่องด้วยสติและปัญญา ท่านจึงอาพาธอยู่ด้วย
อาการอันสงบดังปกติ และยังขอมิให้แพร่งพรายเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเกรง
ว่าจะทำให้เกิดความวิตกกังวลและตกใจกัน ที่สำคัญคือ ขันติธรรมอันแสดงออก
ในครั้งนี้ มิใช่มุ่งที่การอวดบารมีธรรม หรือแสวงหาคำสรรเสริญจากสาธารณชน
ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาปฏิบัติธรรม
จากการอาพาธนี้ ท่านจึงอยู่รับการรักษาที่
สวนโมกข์ตามความเหมาะสม ไม่เกินความ
พอดีหรือฝืนธรรมชาติ นอกจากนี้ท่านยังได้
แสดงธรรมแก่คณะแพทย์ ในระหว่างถวาย
การรักษาอยู่เนืองๆ เช่น "ถือเป็นหลักแต่ไหน
แต่ไรมาแล้วที่ให้ธรรมชาติรักษา ธรรมะรักษา
คุณหมอช่วยพยุงชีวิตให้มันโมเมๆ ไปได้ อย่า
ให้ตายเสียก่อน แล้วธรรมชาติก็จะรักษาโรคต่างๆ ได้เอง ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น ไม่
ต้องการมากกว่านี้ ที่จริงไม่ควรจะมีอายุมากกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต้อง
ศึกษา ปัญหามันก็มีว่า จะทำอย่างไรให้มีชีวิตมากกว่าพระพุทธเจ้า แต่ไม่มีปัญหา...
เราจะศึกษาตัวความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ ให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น
ไม่สบายทุกที ก็ฉลาดทุกๆ ที เหมือนกัน (๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๔)
และเมื่ออาการอาพาธ ได้ทุเลาลงเป็นลำดับแล้ว ท่านได้แสดงธรรมว่า
"การป่วยเป็นเช่นนั้นเอง เป็นอิทัปปัจจยตา ตามเหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ต้องทุกข์ร้อน
รักษาก็เช่นนั้นเอง หายหรือไม่หายก็เช่นนั้นเอง (ตถตา) หายได้ ก็ไม่หายเจ็บต่อก็
ได้ ตายก็ได้ ไม่ทุกข์ใจ ทุกอย่างเป็นอิทัปปัจจยตาเสมอ เป็นเพียงกระแสแห่งการ
ปรุงแต่ง การรักษาเป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งให้ถูกต้องพอดี...
การเจ็บไข้นั้น คนเราไม่เคยหัดให้เข้าใจ ต้องให้คนเจ็บเห็นและไม่กลัวตาย แม้จะ
ในเวทนาก็สักแต่เวทนา เอาเวทนาเป็นอารมณ์ทางสมาธิ ต้องเป็นนักเลงธรรมะ
เอาเวทนาเป็นอารมณ์ของสมาธิ ข่มความเจ็บด้วยอำนาจสติปัญญา..."
(๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)
ชีวิตอันอยู่กับการเผยแผ่ธรรมะทุกลมหายใจเช่นนี้
ทำให้เมื่อท่านอาจารย์มีอาการดีขึ้น ก็จะไม่ละโอกาส
ที่จะแสดงธรรมแก่สาธุชน ราวกับว่า ท่านตระหนักว่า
กำลังทำงานแข่งกับเวลาอันมีอยู่ไม่มากนักแล้ว ด้วย
เหตุนี้ ท่านจึงอาพาธอีกครั้ง ประมาณต้นเดือน
มีนาคม ๒๕๓๕

ธรรมะเพื่อสังคมและโลก (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๔)


แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะเป็นพระภิกษุใน
พุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่การศึกษาจนเข้า
ถึงแก่นแท้แห่งพระธรรมคำสอน ได้ทำให้ท่าน
ก้าวพ้นไปจากการติดยึดในนิกายอย่างงมงาย
และไร้ประโยชน์ ตั้งแต่แรกตั้งสวนโมกข์ ท่าน
ได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
ไม่ว่ามหายาน วัชรยาน เซ็น โดยเฉพาะ
พุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านได้แปลหนังสือ
เรื่อง "สูตรเว่ยหล่าง" และ"คำสอนของฮวงโป"
ฯลฯ แม้ว่าการปฏิบัติดังนี้ของท่านจะเป็นเหตุ
ให้ท่านถูกโจมตีว่า กระทำนอกรีต ผิดแบบแผน
ของพระฝ่ายเถรวาท ก็ตาม

ปาฐกถาเรื่อง ศาสนาเปรียบเทียบยิ่งไปกว่านั้น ท่าน
อาจารย์พุทธทาส
ยังได้ก้าวพรมแดน
แห่งการแบ่งแยก
ทางศาสนาไปด้วย
โดยรู้จักและเป็น
สหายธรรมเพื่อศึกษา
แลกเปลี่ยนธรรมะกับ
เพื่อนต่างศาสนิกหลายคน เช่น หัจญี
ประยูรวทานยกุล นักศึกษาธรรมชาว
มุสลิม ผู้มาเยือนสวนโมกข์ตั้งแต่ยุคต้น
แต่ท่านยังขวนขวายศึกษาพระคัมภีร์
ไบเบิล กุรอ่าน เพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนของ
แต่ละศาสนาแล้วนำมาอธิบายให้พุทธ
ศาสนิกชนได้เข้าใจว่า ทุกศาสนามีจุดมุ่ง
หมายเดียวกัน คือ ช่วยมนุษย์ให้เข้าถึงการดับทุกข์จึงไม่ควรแบ่งแยกหรือมีอคติ
ต่อกัน ท่านมุ่งส่งเสริมให้สวนโมกข์เป็นแดนธรรมของโลกที่ไม่มีพรมแดนแห่ง
ลัทธิ นิกายหรือศาสนาใดๆ มาแบ่งกั้น ในทางตรงกันข้าม สวนโมกข์จะมุ่งเผยแผ่
ให้ศาสนิกชนต่างๆ ได้เข้าใจถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน  เพื่อก่อให้เกิดความ
เข้าใจระหว่างศาสนาทั้งหลายในที่สุดด้วย ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ถือภารกิจนี้
เป็นปณิธานที่สำคัญยิ่ง ๒ ใน ๓ ประการของท่านในการทำงานรับใช้พระศาสนา
เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ความขัดแย้งทางศาสนา ได้ปะทุรุนแรงยิ่งขึ้นในโลก
เกิดการฆ่าฟัน ล้างผลาญกันอย่างน่าสยดสยอง ไม่ว่าในอินเดีย ศรีลังกา
ตะวันออกกลาง ฯลฯ 
และด้วยความเห็นที่ว่า
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา
ของโลกที่สามารถจะช่วย
มนุษยชาติ ไม่ว่าชนชาติใด
หรืออยู่อาศัยในมุมใดของโลก
ให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ในช่วง
๑๐ ปีที่ล่วงมานี้ ท่านจึงเห็น
ความสำคัญของงานเผยแผ่
พระพุทธศาสนาแก่ชนต่าง
ชาติด้วยโดยในปี ๒๕๒๖ ได้สนับสนุนให้พระอธิการ โพธิ์ พุทธธัมโม จัดสอน
สมาธิภาวนาแก่ชาวตะวันตกซึ่งเข้ามาท่องเที่ยวที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดย
การติดป้ายเชิญชวนตามเรือเฟอรี่ ร้านค้าต่างๆ กิจกรรมดังกล่าวประสบความ
สำเร็จเป็นอย่างดี จากกลุ่มเล็กๆ ขยายมาจนกระทั่ง เกิดโครงการสวนโมกข์
นานาชาติ ขึ้น ณ บริเวณสวนมะพร้าว ฝั่งตรงข้ามถนนกับสวนโมกข์ปัจจุบัน 
โดยมีชาวต่างประเทศเข้ารับการฝึกอบรมนับร้อยคน ในการฝึกอบรมแต่ละครั้ง
ซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ ๑-๑๐ ของเดือน ชาวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมา
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการบอกเล่าต่อๆ กันมา ถึงอานิสงฆ์แห่งการ
ฝึกอานาปานสติภาวนา เพื่อพัฒนาจิตใจ จากสวนโมกข์นานาชาติแห่งนี้ นอกจาก
ฝึกสอนชาวต่างชาติแล้ว สวนโมกข์นานาชาติยังจัดให้มีการฝึกสอนคนไทยที่
สนใจด้วยเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี
ในขณะเดียวกัน กิจกรรมอื่นๆ ที่เคยดำเนินมา ก็ยังคงดำเนินอยู่
อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานที่โรงหนัง โรงปั้น และการจัด
บรรยายธรรมแก่หมู่คณะต่างๆ เพื่อให้ผู้มาเยือนสวนโมกข์ได้
รับดวงตาแห่งธรรม  ที่จะนำชีวิตไปสู่ความสะอาด สว่าง และ
สงบ ได้ ในส่วนของท่านอาจารย์เอง ก็ยังคงยืนหยัดแสดงธรรม
ที่จะให้คนในยุคสมัยแห่งการบูชาวัตถุนี้ได้หลุดพ้นจาก
"ความเห็นแก่ตัว" ไม่มุ่งแต่การเสพและสะสมวัตถุจนก่อทุกข์
ให้แก่ตน และผู้อื่น ดังที่เป็นอยู่ อันเป็นปณิธานประการที่ ๓
ของการปฏิบัติภารกิจแห่ง "พุทธทาสภิกขุ"

ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย (พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๔)


พร้อมๆ กับที่เวลาล่วงผ่านเข้าสู่ยุคหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) นั้น ประเทศไทย
ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาไปสู่ "ความทันสมัย" ตามแบบตะวันตกด้วยวิถีชีวิต
การศึกษา วัฒนธรรม การทำมาหากิน ต่างมุ่งจะไปสู่ความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุ
ภายใต้คำขวัญของการพัฒนาที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ผู้คนใน
สังคมได้ถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัตถุยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด จนเกิด
การแสวงหาและแข่งขันกันสะสม ระหว่างบุคคลในสังคมโดยทั่วไป
ในโลกแห่งความทันสมัยนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปี ได้ถูก
มองว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คร่ำครึไร้ประโยชน์ และไม่จำเป็นแก่การพัฒนาแบบนี้
ท่านอาจารย์พุทธทาสกลับมองตรงกันข้ามว่า
ในกระแสแห่งการพัฒนาเช่นนี้ ยิ่งมีความจำเป็น
ที่จะต้องนำ "แก่นพระพุทธศาสนา" ออกเผยแผ่
ให้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองการณ์ไกลไปถึง
อนาคต ท่านเห็นว่าการพัฒนาที่มุ่งแต่การ
ปรนเปรอชีวิตด้วยความสุขทางวัตถุนั้น จะ
นำไปสู่ความทุกข์ทั้งของปัจเจกชนและสังคม
โดยรวม เพราะเป็นการพัฒนาที่ขาดความ
สมดุล คือมองข้ามคุณค่าของการพัฒนาจิตใจ
มนุษย์จะตกเป็นทาสของวัตถุ จนเกิดการ
เบียดเบียน แย่งชิงและทำร้ายกัน ทั้งทางตรง
และทางอ้อม เพื่อจักให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้อง
การศีลธรรมจะเสื่อมถอย ชีวิตและสังคมจะ
เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ขาดความสงบสุขมากขึ้นทุกขณะ ท่านจึงเห็นความ
จำเป็นที่จะต้องนำแก่นพุทธศาสน์ มาสั่งสอนเพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีชีวิตอยู่
เหนือการเป็นทาสวัตถุมี "จิตสว่าง" ที่ปลอดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นแห่งตน
รู้จักการแบ่งปัน และดำรงชีวิตโดยพอดี
โรงมหรสพทางวิญญาณโดยท่านมองว่า การเผยแผ่ธรรมดังกล่าวนี้ จะต้อง
คิดค้นและเลือกธรรมะมาประยุกต์ เพื่ออธิบายให้
เป็นเรื่องร่วมสมัย ที่เข้าใจได้สำหรับคนในสังคม
"ทันสมัย" รวมทั้งจะต้องพัฒนารูปแบบของการ
เผยแผ่ด้วย เพื่อจูงใจคนทั่วไปให้สนใจ จากความ
ใฝ่รู้ ในวิทยาการด้านต่างๆ ที่มีมาโดยตลอดของ
ท่านอาจารย์ ท่านจึงเริ่มพัฒนาสื่อการสอนธรรมะในสวนโมกข์ เพื่อให้ประโยชน์
แก่ผู้มาพักหรือแม้เพียงแวะผ่าน ให้ได้ธรรมะกลับไปเป็นข้อคิดบ้าง สระนาฬิเกร์จึงเกิดการ
สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ โรงปั้น
สระนาฬิเกร์ ฯลฯ ในช่วงเวลานี้ และใน
ขณะที่สอนธรรมะแก่ผู้อื่นนั้น การดำรง
ชีวิตภายในสวนโมกข์เอง ก็ได้แสดง
ธรรมให้เห็นทางอ้อมด้วยว่า การกิน
อยู่อย่างเรียบง่ายนั้น มิใช่ความทุกข์
หากสามารถสร้างความสุขแก่ชีวิตได้
ถ้าบุคคลมีธรรมะเป็นปัจจัยเกื้อหนุน
ความเป็นอยู่ของพระในสวนโมกข์
จึงถือคติว่า "กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง" และในขณะที่วัดวาอารามทั่วไป
กำลังเร่งแข่งขันสร้างวัตถุตามกระแสโลก ท่านอาจารย์พุทธทาสกลับมุ่งสร้าง
โบสถ์ และสถานที่ใช้สอยต่างๆ ที่อิงกับธรรมชาติ ให้ความสงบโดยไม่ต้อง
หรูหราหรือสิ้นเปลือง เหล่านี้คือการประยุกต์ธรรมะมานำทางให้แก่ยุคสมัย
ซึ่งกำลังเดินไปสู่ความทุกข์
โบสถ์สวนโมกข์ บนยอดเขาพุทธทองแล้วในเวลาเพียงทศวรรษเศษๆ
การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ก็นำ
สังคมไปสู่สภาพที่ท่านอาจารย์
พุทธทาสคาดการณ์ไว้ ยิ่งไปกว่า
นั้นคือ ช่องว่างระหว่างคนจน -
คนรวย ได้นำมาซึ่งความขัดแย้ง
ทางการเมืองระหว่างทุนนิยม
และคอมมิวนิสต์ ที่ทวีความ
รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึง
ขั้นทำลายล้างชีวิตกันและกันด้วย
โดยเฉพาะในช่วงปี ๒๕๑๖ - ๒๕๒๒ ท่านได้พยายามประยุกต์ธรรมมาอธิบาย
ให้สังคมได้มองเห็นว่า หากเผยแผ่ให้ประชาชนเข้าใจในหลักธรรมแห่งพระ
พุทธศาสนาโดยถูกต้องแล้ว สังคมอันพึงปรารถนาย่อมเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าในทาง
ประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากความ
เกลียดชัง มุ่งร้ายกันและกันด้วย ท่านเห็นว่า พระพุทธศาสนาโดยหลักการแล้ว
เป็นสังคมนิยมในตัวเองเพราะมุ่งให้กินอยู่ตามจำเป็น ส่วนที่เหลือเผื่อแผ่ผู้อื่น
เป็นการสละให้ที่ไม่ต้องบังคับ และยังสร้างความสุขทั้งแก่ผู้ให้ผู้รับ ท่านชี้
ให้เห็นว่า ไม่ว่าการปกครองหรือลัทธิการเมืองใดก็ตาม หากจะมุ่งให้เกิดความ
สงบสุขอันแท้จริงแล้ว จะต้องอิงอยู่กับธรรมะ ท่านจึงเสนอแนวคิดสำคัญใน
ด้านการพัฒนาสังคม ตามแนวพุทธศาสนาว่า คือการพัฒนาแบบ
"ธรรมิกสังคมนิยม" คือเป็นสังคมนิยมชนิดที่มีธรรมะเป็นหลักการสำคัญ
ลานหินโค้ง สวนโมกข์ตลอด ๒ ทศวรรษ ที่สังคม
ไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตอัน
เนื่องมาจากการพัฒนา และ
ความขัดแย้งทางการเมืองนั้น
ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้
พยายามที่จะประยุกต์พระ
ธรรมคำสอน มาอธิบายเพื่อ
ชี้ทางออกให้แก่ชีวิตและสังคม
ถึงแม้ว่า ภารกิจนี้จะทำให้ท่าน
ถูกโจมตีกล่าวหา ทั้งจากฝ่าย
ซ้ายและขวา หรือเรื่อง "จิตว่าง"
ของท่าน จะถูกคัดค้านและนำไปโจมตี ล้อเลียนโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วย แต่เรื่องต่างๆ
เหล่านี้ก็มิได้ทำให้ท่านเกิดความท้อถอย หวั่นไหวแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม ท่านยัง
คงแน่วแน่ที่จะคิดค้นธรรม และทำงานหนักขึ้นอีก เพื่อนำธรรมะนั้นมาชี้นำสังคม
ตามปณิธานที่มุ่งมั่นแต่แรกตั้งสวนโมกข์