วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รายการพื้นที่ชีวิต



พื้นที่ชีวิต - วิจัยชีวิต 1


   เนื่องจาก Blogger ของผมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการค้นหาความหมายของชีวิต ซึ่งรายการนี้ให้สาระ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผมสนใจ

บทความธรรมะ 2


โลกกลียุค


โลกทุกวัน อยู่ในขั้น กลียุค
ที่เบิกบุก เร็วรุด ถึงจุดสลาย
จนสิ้นสุด มนุษยธรรม ด่ำอบาย
เพราะเห็นกง –จักรร้าย เป็นดอกบัว

กิเลสไส- หัวส่ง ลงปลักกิเลส
มีความแกว่น แสนวิเศษ มาสุมหัว
สามารถดูด ดึงกันไป ใจมืดมัว
เห็นตนตัว ที่จมกาม ว่าความเจริญ

มองไม่เห็น ศีลธรรม ว่าจำเป็น
สำหรับอยู่ สุขเย็น ควรสรรเสริญ
เกียรติ กาม กิน บิ่นบ้า ยิ่งกว่าเกิน
แล้วหลงเพลิน ความบ้า ว่าศีลธรรมฯ  


โลกอนิจจัง


ตามธรรมดา ถ้าไม่มี ความเปลี่ยนแปลง
มาบังแฝง คนจะเบื่อ จนเหลือที่
จะเป็นคน ทนอยู่ ในโลกนี้
หนักเข้ามี แต่อยาก จะดับไป

ดับจากโลก เพราะโลก มันน่าชัง
แต่ใครบ้าง รู้สึก เช่นนี้ได้
เพราะโลกมี อนิจจัง บังเอาไว้
คนเราใช้ อนิจจัง ขังตัวเองฯ  

โลกพัฒนาที่เรียกว่า Developed

ดูจะเพื่อ จุดจบ เสียมากกว่า

หรืออย่างน้อย ให้จบเร็ว กว่าธรรมดา

นึกแล้วพา อนาถใจ ใคร่ท้วงติง

เร่งพัฒนา เหมือนเร่งฆ่า ให้ตัวตาย

ทรัพย์ธรรมชาติ วอดวาย คล้ายกับวิ่ง

ผลได้มา เฟ้อกว่า ความเป็นจริง

จนยุ่งขิง กันไปหมด อดเยือกเย็น

 

โลกพัฒนา วัตถุเหลือ เหนือคุณธรรม

ไม่อิ่มหนำ ไม่คิดเปลื้อง พวกเรื่องเหม็น

เรื่องอวกาศ เรื่องอาละวาด เกินจำเป็น

ยิ่งโลดเต้น ยิ่งสุมโศก โลกพัฒนาฯ

บทความธรรมะ 1


"สิบปีในสวนโมกข์"  บทความที่เล่าเรื่องราวการฝึกฝนปฏิบัติธรรม
ของท่านอาจารย์พุทธทาสในช่วงสิบปีแรกที่เริ่มตั้งสวนโมกข์
เป็นตัวอย่างแห่งความมานะพากเพียร เพื่อไปสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิต
 "อนัตตา มีแต่ในพุทธศาสนาเท่านั้น หามีในศาสนาอื่นๆ ไม่
แต่ทำไมเราจึงไม่เอาธรรมะข้อนี้มาเป็นหลักสั่งสอนประชาชนโดยตรง.."
บางตอนจาก "หลักอนัตตา กับการอบรมประชาชน"   
"...พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง
มิใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนพระเป็นเจ้าผู้มีอำนาจ
หรือ เป็นศาสนาแห่งการแลกเปลี่ยนทำนองการค้าขาย-ทำบุญ ทำทาน
แลกนางฟ้าในสวรรค์ หรือ อะไรทำนองนี้ แต่ประการใดเลย
และเพราะความที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง
โดยมีเหตุผลเพียงพอแก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่าเป็น ศาสนาแห่งเหตุผลด้วย..."
บางตอนจาก "พุทธศาสนา ศาสนาแห่งการบังคับตน"
"ความสำราญทางกายหรือฝ่ายโลกนั้นต้องดื่มหรือต้องกินอยู่เสมอ จึงจะสำราญ
แต่ที่แท้มันเป็นเพียงการระงับหรือกลบเกลื่อนความหิวไว้ทุกชั่วคราวที่หิวเท่านั้น
ส่วนความสำราญทางฝ่ายใจหรือฝ่ายธรรมนั้น ไม่ต้องดื่มไม่ต้องกินก็สำราญอยู่เอง
เพราะมันไม่มีความหิว ไม่ต้องดื่มกิน เพื่อแก้หิว ที่กล่าวนี้..."
บางตอนจาก "อาหารของดวงใจ"
คุณค่าของปริยัติ   
"บทความชิ้นนี้ ทำให้ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับบัตรสนเท่ห์
ด่าว่าอย่างหาชิ้นดีมิได้ จาก บุคคลบางคน แม้ที่เป็นบรรพชิต
และขอร้องให้คณะธรรมทานลงมติขับท่านออกจากกลุ่มชาวคณะธรรมทานให้ได้."
อ่าน บทความ เรื่อง "ความกลัว" แล้วคุณจะชนะความกลัว!
 "ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่าได้รับผลอันเด็ดขาดแท้จริงอย่างไร
จากฤทธิ์นั้นทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ.." บางตอนจาก "ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์"
"บุญเป็นการทำให้โป่ง กุศลเป็นการถากถางให้เตียน
การให้ทานที่เห็นเหมือนๆกัน แต่เป็นบุญก็ได้ เป็นกุศลก็ได้.."
อยากรู้ว่าทำไม อ่าน "บุญ-กุศล"

สวนโมกข์ในอนาคต


แม้ชีวิตในวันนี้ของท่านอาจารย์ จะต้องอยู่กับความเจ็บป่วยตามเหตุปัจจัยแห่ง
ธรรมชาติ แต่ก็เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่เคยแยกห่างออกจากธรรมะ จนกล่าวได้ว่า
ท่านพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติแห่งพุทธทาสภิกขุ ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต ตาม
รอยแห่งพระบรมศาสดานั่นเอง 
นับจากวันวิสาขบูชา ๒๔๗๕ ซึ่งพระมหาหนุ่มนาม "เงื่อม"
เริ่มต้นการเดินทางเพื่อตามรอยแห่งพระอริยเจ้ามาจนกระทั่ง
ถึงวิสาขบูชา ๒๕๓๕ นี้ การเดินทางของท่านและสวนโมกข
พลารามได้ยาวนานมาถึง ๖๐ ปีแล้ว อุดมคติอันมุ่งมั่นที่จะ
ค้นหาให้พบในวันเริ่มต้น ได้ค้นพบแล้ว ปณิธานที่จะประกาศ
ธรรมซึ่งค้นพบนั้นแก่ชนร่วมสมัย ก็ได้บรรลุแล้ว

สวนโมกขพลาราม คือมรดกสำคัญที่ท่าน
อาจารย์พุทธทาส และสหายธรรมผู้ร่วมก่อตั้ง
ได้มอบไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง สวนโมกข์ในความ
หมายของรูปธรรม อาจเปลี่ยนแปลงไปตาม
กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และตามเหตุปัจจัย
ของผู้อยู่หลัง แต่ความหมายในเชิงนาม
ธรรมแล้ว "สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความ
หลุดพ้นจากทุกข์" นี้จะไม่มีวันดับสูญ และ
ไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา หาก
สามารถจะเกิดและดำรงอยู่ในทุกๆ ที่แม้ใน
บ้านเราเอง! ด้วยธรรมะที่ท่านอาจารย์
พุทธทาสได้ปักหลักเผยแผ่อยู่ที่สวนโมกข์
เป็นเวลาถึง ๖ ทศวรรษนี้ เป็นธรรมะที่ไม่มี
วันตาย และจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
และสถานที่ เพราะเป็นกฏสูงสุดแห่ง
ธรรมชาติ ซึ่งพระบรมศาสดาเป็นผู้ค้นพบ
และท่านอาจารย์ คือพุทธสาวกผู้นำผ่านกาลเวลานับพันปี มาพิสูจน์ให้ประจักษ์
แก่ชนร่วมสมัยอีกครั้ง ธรรมะนี้จึงมิใช่มีอยู่เพียงที่สวนโมกข์ไชยา และมิใช่ธรรมะ
ของชาวพุทธหากคือธรรมะของมนุษยชาติ ที่จะคงคุณค่าอยู่เสมอไป ตราบเท่าที่
คนเรายังมีความทุกข์ และต้องการดับทุกข์นั้น ธรรมะนี้จะยิ่งทวีค่าทวีคูณยิ่งขึ้นอีก
ในสังคมของอนาคต ด้วยเส้นทางที่สังคมเวลานี้เดินอยู่นั้นกำกับไว้ด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ที่มุ่งเพียงการแสวงหาความสุขจากวัตถุอย่างสุดขั้ว ธรรมะอันชี้นำทางแห่งการ
หลุดพ้นจากพันธนาการของวัตถุ จึงมีค่าดังประทีปในความมืดเช่นไรก็เช่นนั้น
สำหรับท่านอาจารย์พุทธทาส ผู้จุดดวง
ประทีปดังกล่าวให้แก่ชนร่วมยุคของท่าน
ก็เช่นกัน "พุทธทาสภิกขุ" ในความหมาย
ของรูปธรรม จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม
อายุขัย แต่ในความหมายของนามธรรมแล้ว
พุทธทาสจักไม่มีวันตาย ดังบทกวีเพลงที่
ท่านได้แต่งไว้เป็นอนุสติแก่ผู้อยู่หลัง แม้
ก่อนหน้านี้เอง ท่านก็ได้เคยปรารภให้เป็น
ข้อคิดว่า จะต้องระวังมิให้สวนโมกข์และ
พุทธทาสภิกขุในความหมายแห่งรูปธรรม
กลายเป็นภูเขาหิมาลัยขวางทางแห่งการ
เห็นแจ้งของคนทั้งหลาย นั่นนคือ การศึกษา
และปฏิบัติธรรม จะต้องมุ่งที่ธรรม มากกว่า
การยึดตัวบุคคล สำนัก หรือ สถานที่ ฯลฯ
เพราะตราบเท่าที่ยังมีการปฏิบัติดี ปฏิบัติ
ชอบ โลกจะไม่เคยว่างเว้นจากพระอรหันต์

สวนโมกข์กำเนิดขึ้นด้วยศรัทธาและปัญญาที่เห็นจริงในข้อนี้ และจะดำรงอยู่ต่อไป
ในอนาคตก็ด้วยความประจักษ์แจ้งในหลักการข้อนี้เช่นกัน

สวนโมกข์วันนี้


แม้สวนโมกข์จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๖๐ แห่งการก่อตั้ง
แต่ปณิธานแห่งการทำงานเพื่อรับใช้พระศาสนาและ
เพื่อนมนุษย์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กิจวัตร
ของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
กิจวัตรของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมา
ในอดีต เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่สิ่งที่จำต้อง
เปลี่ยนแปลงไปคือ การหมุนเวียนของพระเณรทั้งเก่าและ
ใหม่และกายสังขารของท่านอาจารย์ที่ล่วงเข้าสู่วัยชราตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติ
ท่านอาจารย์พุทธทาส อาพาธหนักครั้งแรก
เมื่อ ปี ๒๕๑๘ ขณะอายุได้ ๖๙ ปี โดยเข้า
รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และ
อาพาธหนักอีกครั้งในปี ๒๕๒๘ เมื่ออายุ
ได้ ๗๙ ปี จนเมื่อปลายเดือนตุลาคม
๒๕๓๔ ขณะอายุได้ ๘๕ ปีเศษ หลังจาก
การแสดงธรรมติดต่อกันถึง ๖ วัน วันละ
๒ ชั่วโมง ท่านก็มีอาการอาพาธรุนแรง
อีกครั้งหนึ่ง การอาพาธในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกับเมื่อ ปี ๒๕๒๘ คือท่านตัดสินใจ
ขอรับการรักษาตัวอยู่ที่สวนโมกข์ โดยขณะที่กำลังอาพาธหนัก มีอาการอันน่าวิตก
ว่า อาจจะดับขันธ์ได้ทุกเมื่อนั้น  ท่านได้กล่าวแก่คณะสงฆ์และแพทย์ที่กราบ
อาราธนาท่านเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลว่า "ขอบใจ ขอบใจอย่างสูง
ขอให้การอาพาธครั้งนี้เป็นการศึกษาของอาตมาอย่างยิ่ง ขอรับการรักษา
อย่างธรรมชาติ อย่างครั้งพุทธกาลอยู่ที่วัด" (๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔)
ท่านอาจารย์เห็นว่า สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ควรหอบสังขารหนีความตาย
(ดังที่การแพทย์สมัยใหม่มักใช้วิทยาการต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างผิดธรรมชาติ
ด้วยเครื่องมือและสายระโยงระยางจำนวนมากมาย) ท่านอาจารย์ได้แสดงออก
ซึ่งรูปธรรมของ "การเตรียมตัวตายอย่างมีสติ" ให้ผู้ใกล้ชิดได้เรียนรู้
และนี่คือสิ่งที่ "พุทธทาสภิกขุ" ได้ปฏิบัติมาตลอดชีวิต
แห่งการทำงานเป็นผู้รับใช้ของพระพุทธองค์ นั่นคือ
การศึกษาค้นคว้าธรรมะ และที่สำคัญคือ การพิสูจน์
ธรรมะแก่สาธุชนด้วยตัวของท่านเอง แม้ว่าการทดลอง
ศึกษาธรรมในครั้งนี้ จะต้องเผชิญกับภาวะอันเจ็บปวด
และทรมานอย่างที่คนทั่วไปยากจะทนได้ แม้เพียง
ขณะเดียว แต่ท่านได้ทนกับภาวะน้ำคั่งท่วมปอด จนไอ
มีเสมหะปนเลือด อาการคลื่นไส้ ปวดมวนในท้องอย่างรุนแรง หอบ มีไข้
หัวใจเต็นผิดจังหวะ ไม่สามารถจะพักผ่อนนอนราบ และฉันภัตตาหารไม่ได้
อยู่นานถึง ๔ วัน กว่าที่จะมีแพทย์มาถวายการรักษาอย่างเป็นทางการ เป็น
การอดทนที่อาศัยขันติอันผูกเนื่องด้วยสติและปัญญา ท่านจึงอาพาธอยู่ด้วย
อาการอันสงบดังปกติ และยังขอมิให้แพร่งพรายเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเกรง
ว่าจะทำให้เกิดความวิตกกังวลและตกใจกัน ที่สำคัญคือ ขันติธรรมอันแสดงออก
ในครั้งนี้ มิใช่มุ่งที่การอวดบารมีธรรม หรือแสวงหาคำสรรเสริญจากสาธารณชน
ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาปฏิบัติธรรม
จากการอาพาธนี้ ท่านจึงอยู่รับการรักษาที่
สวนโมกข์ตามความเหมาะสม ไม่เกินความ
พอดีหรือฝืนธรรมชาติ นอกจากนี้ท่านยังได้
แสดงธรรมแก่คณะแพทย์ ในระหว่างถวาย
การรักษาอยู่เนืองๆ เช่น "ถือเป็นหลักแต่ไหน
แต่ไรมาแล้วที่ให้ธรรมชาติรักษา ธรรมะรักษา
คุณหมอช่วยพยุงชีวิตให้มันโมเมๆ ไปได้ อย่า
ให้ตายเสียก่อน แล้วธรรมชาติก็จะรักษาโรคต่างๆ ได้เอง ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น ไม่
ต้องการมากกว่านี้ ที่จริงไม่ควรจะมีอายุมากกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต้อง
ศึกษา ปัญหามันก็มีว่า จะทำอย่างไรให้มีชีวิตมากกว่าพระพุทธเจ้า แต่ไม่มีปัญหา...
เราจะศึกษาตัวความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ ให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น
ไม่สบายทุกที ก็ฉลาดทุกๆ ที เหมือนกัน (๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๔)
และเมื่ออาการอาพาธ ได้ทุเลาลงเป็นลำดับแล้ว ท่านได้แสดงธรรมว่า
"การป่วยเป็นเช่นนั้นเอง เป็นอิทัปปัจจยตา ตามเหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ต้องทุกข์ร้อน
รักษาก็เช่นนั้นเอง หายหรือไม่หายก็เช่นนั้นเอง (ตถตา) หายได้ ก็ไม่หายเจ็บต่อก็
ได้ ตายก็ได้ ไม่ทุกข์ใจ ทุกอย่างเป็นอิทัปปัจจยตาเสมอ เป็นเพียงกระแสแห่งการ
ปรุงแต่ง การรักษาเป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งให้ถูกต้องพอดี...
การเจ็บไข้นั้น คนเราไม่เคยหัดให้เข้าใจ ต้องให้คนเจ็บเห็นและไม่กลัวตาย แม้จะ
ในเวทนาก็สักแต่เวทนา เอาเวทนาเป็นอารมณ์ทางสมาธิ ต้องเป็นนักเลงธรรมะ
เอาเวทนาเป็นอารมณ์ของสมาธิ ข่มความเจ็บด้วยอำนาจสติปัญญา..."
(๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)
ชีวิตอันอยู่กับการเผยแผ่ธรรมะทุกลมหายใจเช่นนี้
ทำให้เมื่อท่านอาจารย์มีอาการดีขึ้น ก็จะไม่ละโอกาส
ที่จะแสดงธรรมแก่สาธุชน ราวกับว่า ท่านตระหนักว่า
กำลังทำงานแข่งกับเวลาอันมีอยู่ไม่มากนักแล้ว ด้วย
เหตุนี้ ท่านจึงอาพาธอีกครั้ง ประมาณต้นเดือน
มีนาคม ๒๕๓๕

ธรรมะเพื่อสังคมและโลก (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๔)


แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะเป็นพระภิกษุใน
พุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่การศึกษาจนเข้า
ถึงแก่นแท้แห่งพระธรรมคำสอน ได้ทำให้ท่าน
ก้าวพ้นไปจากการติดยึดในนิกายอย่างงมงาย
และไร้ประโยชน์ ตั้งแต่แรกตั้งสวนโมกข์ ท่าน
ได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
ไม่ว่ามหายาน วัชรยาน เซ็น โดยเฉพาะ
พุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านได้แปลหนังสือ
เรื่อง "สูตรเว่ยหล่าง" และ"คำสอนของฮวงโป"
ฯลฯ แม้ว่าการปฏิบัติดังนี้ของท่านจะเป็นเหตุ
ให้ท่านถูกโจมตีว่า กระทำนอกรีต ผิดแบบแผน
ของพระฝ่ายเถรวาท ก็ตาม

ปาฐกถาเรื่อง ศาสนาเปรียบเทียบยิ่งไปกว่านั้น ท่าน
อาจารย์พุทธทาส
ยังได้ก้าวพรมแดน
แห่งการแบ่งแยก
ทางศาสนาไปด้วย
โดยรู้จักและเป็น
สหายธรรมเพื่อศึกษา
แลกเปลี่ยนธรรมะกับ
เพื่อนต่างศาสนิกหลายคน เช่น หัจญี
ประยูรวทานยกุล นักศึกษาธรรมชาว
มุสลิม ผู้มาเยือนสวนโมกข์ตั้งแต่ยุคต้น
แต่ท่านยังขวนขวายศึกษาพระคัมภีร์
ไบเบิล กุรอ่าน เพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนของ
แต่ละศาสนาแล้วนำมาอธิบายให้พุทธ
ศาสนิกชนได้เข้าใจว่า ทุกศาสนามีจุดมุ่ง
หมายเดียวกัน คือ ช่วยมนุษย์ให้เข้าถึงการดับทุกข์จึงไม่ควรแบ่งแยกหรือมีอคติ
ต่อกัน ท่านมุ่งส่งเสริมให้สวนโมกข์เป็นแดนธรรมของโลกที่ไม่มีพรมแดนแห่ง
ลัทธิ นิกายหรือศาสนาใดๆ มาแบ่งกั้น ในทางตรงกันข้าม สวนโมกข์จะมุ่งเผยแผ่
ให้ศาสนิกชนต่างๆ ได้เข้าใจถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน  เพื่อก่อให้เกิดความ
เข้าใจระหว่างศาสนาทั้งหลายในที่สุดด้วย ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ถือภารกิจนี้
เป็นปณิธานที่สำคัญยิ่ง ๒ ใน ๓ ประการของท่านในการทำงานรับใช้พระศาสนา
เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ความขัดแย้งทางศาสนา ได้ปะทุรุนแรงยิ่งขึ้นในโลก
เกิดการฆ่าฟัน ล้างผลาญกันอย่างน่าสยดสยอง ไม่ว่าในอินเดีย ศรีลังกา
ตะวันออกกลาง ฯลฯ 
และด้วยความเห็นที่ว่า
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา
ของโลกที่สามารถจะช่วย
มนุษยชาติ ไม่ว่าชนชาติใด
หรืออยู่อาศัยในมุมใดของโลก
ให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ในช่วง
๑๐ ปีที่ล่วงมานี้ ท่านจึงเห็น
ความสำคัญของงานเผยแผ่
พระพุทธศาสนาแก่ชนต่าง
ชาติด้วยโดยในปี ๒๕๒๖ ได้สนับสนุนให้พระอธิการ โพธิ์ พุทธธัมโม จัดสอน
สมาธิภาวนาแก่ชาวตะวันตกซึ่งเข้ามาท่องเที่ยวที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดย
การติดป้ายเชิญชวนตามเรือเฟอรี่ ร้านค้าต่างๆ กิจกรรมดังกล่าวประสบความ
สำเร็จเป็นอย่างดี จากกลุ่มเล็กๆ ขยายมาจนกระทั่ง เกิดโครงการสวนโมกข์
นานาชาติ ขึ้น ณ บริเวณสวนมะพร้าว ฝั่งตรงข้ามถนนกับสวนโมกข์ปัจจุบัน 
โดยมีชาวต่างประเทศเข้ารับการฝึกอบรมนับร้อยคน ในการฝึกอบรมแต่ละครั้ง
ซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ ๑-๑๐ ของเดือน ชาวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมา
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการบอกเล่าต่อๆ กันมา ถึงอานิสงฆ์แห่งการ
ฝึกอานาปานสติภาวนา เพื่อพัฒนาจิตใจ จากสวนโมกข์นานาชาติแห่งนี้ นอกจาก
ฝึกสอนชาวต่างชาติแล้ว สวนโมกข์นานาชาติยังจัดให้มีการฝึกสอนคนไทยที่
สนใจด้วยเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี
ในขณะเดียวกัน กิจกรรมอื่นๆ ที่เคยดำเนินมา ก็ยังคงดำเนินอยู่
อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานที่โรงหนัง โรงปั้น และการจัด
บรรยายธรรมแก่หมู่คณะต่างๆ เพื่อให้ผู้มาเยือนสวนโมกข์ได้
รับดวงตาแห่งธรรม  ที่จะนำชีวิตไปสู่ความสะอาด สว่าง และ
สงบ ได้ ในส่วนของท่านอาจารย์เอง ก็ยังคงยืนหยัดแสดงธรรม
ที่จะให้คนในยุคสมัยแห่งการบูชาวัตถุนี้ได้หลุดพ้นจาก
"ความเห็นแก่ตัว" ไม่มุ่งแต่การเสพและสะสมวัตถุจนก่อทุกข์
ให้แก่ตน และผู้อื่น ดังที่เป็นอยู่ อันเป็นปณิธานประการที่ ๓
ของการปฏิบัติภารกิจแห่ง "พุทธทาสภิกขุ"

ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย (พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๔)


พร้อมๆ กับที่เวลาล่วงผ่านเข้าสู่ยุคหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) นั้น ประเทศไทย
ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาไปสู่ "ความทันสมัย" ตามแบบตะวันตกด้วยวิถีชีวิต
การศึกษา วัฒนธรรม การทำมาหากิน ต่างมุ่งจะไปสู่ความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุ
ภายใต้คำขวัญของการพัฒนาที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ผู้คนใน
สังคมได้ถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัตถุยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด จนเกิด
การแสวงหาและแข่งขันกันสะสม ระหว่างบุคคลในสังคมโดยทั่วไป
ในโลกแห่งความทันสมัยนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปี ได้ถูก
มองว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คร่ำครึไร้ประโยชน์ และไม่จำเป็นแก่การพัฒนาแบบนี้
ท่านอาจารย์พุทธทาสกลับมองตรงกันข้ามว่า
ในกระแสแห่งการพัฒนาเช่นนี้ ยิ่งมีความจำเป็น
ที่จะต้องนำ "แก่นพระพุทธศาสนา" ออกเผยแผ่
ให้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองการณ์ไกลไปถึง
อนาคต ท่านเห็นว่าการพัฒนาที่มุ่งแต่การ
ปรนเปรอชีวิตด้วยความสุขทางวัตถุนั้น จะ
นำไปสู่ความทุกข์ทั้งของปัจเจกชนและสังคม
โดยรวม เพราะเป็นการพัฒนาที่ขาดความ
สมดุล คือมองข้ามคุณค่าของการพัฒนาจิตใจ
มนุษย์จะตกเป็นทาสของวัตถุ จนเกิดการ
เบียดเบียน แย่งชิงและทำร้ายกัน ทั้งทางตรง
และทางอ้อม เพื่อจักให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้อง
การศีลธรรมจะเสื่อมถอย ชีวิตและสังคมจะ
เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ขาดความสงบสุขมากขึ้นทุกขณะ ท่านจึงเห็นความ
จำเป็นที่จะต้องนำแก่นพุทธศาสน์ มาสั่งสอนเพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีชีวิตอยู่
เหนือการเป็นทาสวัตถุมี "จิตสว่าง" ที่ปลอดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นแห่งตน
รู้จักการแบ่งปัน และดำรงชีวิตโดยพอดี
โรงมหรสพทางวิญญาณโดยท่านมองว่า การเผยแผ่ธรรมดังกล่าวนี้ จะต้อง
คิดค้นและเลือกธรรมะมาประยุกต์ เพื่ออธิบายให้
เป็นเรื่องร่วมสมัย ที่เข้าใจได้สำหรับคนในสังคม
"ทันสมัย" รวมทั้งจะต้องพัฒนารูปแบบของการ
เผยแผ่ด้วย เพื่อจูงใจคนทั่วไปให้สนใจ จากความ
ใฝ่รู้ ในวิทยาการด้านต่างๆ ที่มีมาโดยตลอดของ
ท่านอาจารย์ ท่านจึงเริ่มพัฒนาสื่อการสอนธรรมะในสวนโมกข์ เพื่อให้ประโยชน์
แก่ผู้มาพักหรือแม้เพียงแวะผ่าน ให้ได้ธรรมะกลับไปเป็นข้อคิดบ้าง สระนาฬิเกร์จึงเกิดการ
สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ โรงปั้น
สระนาฬิเกร์ ฯลฯ ในช่วงเวลานี้ และใน
ขณะที่สอนธรรมะแก่ผู้อื่นนั้น การดำรง
ชีวิตภายในสวนโมกข์เอง ก็ได้แสดง
ธรรมให้เห็นทางอ้อมด้วยว่า การกิน
อยู่อย่างเรียบง่ายนั้น มิใช่ความทุกข์
หากสามารถสร้างความสุขแก่ชีวิตได้
ถ้าบุคคลมีธรรมะเป็นปัจจัยเกื้อหนุน
ความเป็นอยู่ของพระในสวนโมกข์
จึงถือคติว่า "กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง" และในขณะที่วัดวาอารามทั่วไป
กำลังเร่งแข่งขันสร้างวัตถุตามกระแสโลก ท่านอาจารย์พุทธทาสกลับมุ่งสร้าง
โบสถ์ และสถานที่ใช้สอยต่างๆ ที่อิงกับธรรมชาติ ให้ความสงบโดยไม่ต้อง
หรูหราหรือสิ้นเปลือง เหล่านี้คือการประยุกต์ธรรมะมานำทางให้แก่ยุคสมัย
ซึ่งกำลังเดินไปสู่ความทุกข์
โบสถ์สวนโมกข์ บนยอดเขาพุทธทองแล้วในเวลาเพียงทศวรรษเศษๆ
การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ก็นำ
สังคมไปสู่สภาพที่ท่านอาจารย์
พุทธทาสคาดการณ์ไว้ ยิ่งไปกว่า
นั้นคือ ช่องว่างระหว่างคนจน -
คนรวย ได้นำมาซึ่งความขัดแย้ง
ทางการเมืองระหว่างทุนนิยม
และคอมมิวนิสต์ ที่ทวีความ
รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึง
ขั้นทำลายล้างชีวิตกันและกันด้วย
โดยเฉพาะในช่วงปี ๒๕๑๖ - ๒๕๒๒ ท่านได้พยายามประยุกต์ธรรมมาอธิบาย
ให้สังคมได้มองเห็นว่า หากเผยแผ่ให้ประชาชนเข้าใจในหลักธรรมแห่งพระ
พุทธศาสนาโดยถูกต้องแล้ว สังคมอันพึงปรารถนาย่อมเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าในทาง
ประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากความ
เกลียดชัง มุ่งร้ายกันและกันด้วย ท่านเห็นว่า พระพุทธศาสนาโดยหลักการแล้ว
เป็นสังคมนิยมในตัวเองเพราะมุ่งให้กินอยู่ตามจำเป็น ส่วนที่เหลือเผื่อแผ่ผู้อื่น
เป็นการสละให้ที่ไม่ต้องบังคับ และยังสร้างความสุขทั้งแก่ผู้ให้ผู้รับ ท่านชี้
ให้เห็นว่า ไม่ว่าการปกครองหรือลัทธิการเมืองใดก็ตาม หากจะมุ่งให้เกิดความ
สงบสุขอันแท้จริงแล้ว จะต้องอิงอยู่กับธรรมะ ท่านจึงเสนอแนวคิดสำคัญใน
ด้านการพัฒนาสังคม ตามแนวพุทธศาสนาว่า คือการพัฒนาแบบ
"ธรรมิกสังคมนิยม" คือเป็นสังคมนิยมชนิดที่มีธรรมะเป็นหลักการสำคัญ
ลานหินโค้ง สวนโมกข์ตลอด ๒ ทศวรรษ ที่สังคม
ไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตอัน
เนื่องมาจากการพัฒนา และ
ความขัดแย้งทางการเมืองนั้น
ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้
พยายามที่จะประยุกต์พระ
ธรรมคำสอน มาอธิบายเพื่อ
ชี้ทางออกให้แก่ชีวิตและสังคม
ถึงแม้ว่า ภารกิจนี้จะทำให้ท่าน
ถูกโจมตีกล่าวหา ทั้งจากฝ่าย
ซ้ายและขวา หรือเรื่อง "จิตว่าง"
ของท่าน จะถูกคัดค้านและนำไปโจมตี ล้อเลียนโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วย แต่เรื่องต่างๆ
เหล่านี้ก็มิได้ทำให้ท่านเกิดความท้อถอย หวั่นไหวแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม ท่านยัง
คงแน่วแน่ที่จะคิดค้นธรรม และทำงานหนักขึ้นอีก เพื่อนำธรรมะนั้นมาชี้นำสังคม
ตามปณิธานที่มุ่งมั่นแต่แรกตั้งสวนโมกข์

ประกาศธรรมทุกทิศ (พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๕)


ความสามารถของ "พุทธทาสภิกขุ" ใน
ด้านการเขียนอธิบายข้อธรรมะต่างๆ ใน
"พุทธสาสนา" โดยใช้ภาษาที่สละสลวย
เข้าใจง่าย แต่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้งได้ส่งผล
ให้ธรรมะจากสวนโมกข์ แผ่กระจายสู่
ผู้อ่านในที่ต่างๆ โดยง่าย จากฉบับแรก
เริ่ม ซึ่งต้องประกาศแจกให้เปล่าในหนัง
สือพิมพ์ "ไทยเขษม" รายสัปดาห์
ก้าวหน้าจนมีผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิก
เองนับร้อย จนถึงพันในเวลาต่อมา ความ
สำเร็จนี้แม้แต่คณะผู้จัดทำเองก็คาดไม่ถึง
ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจที่จะเผยแพร่และ
แจกจ่ายธรรมทานนี้แก่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น


พุทธทาสภิกขุ แสดงปาฐกถาธรรมที่หอประชุมใหญ่ จุฬาฯ ประมาณปี ๒๕๐๓ เรื่อง "ส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้จัก" มีผู้เข้าฟังประมาณ ๓,๐๐๐ คน
พ.ศ. ๒๔๙๕- บรรยายธรรมประกอบสไลด์ ชุดปริศนาธรรม ที่หอประชุม เอ ยู เอไม่นานนัก การประกาศธรรม ก็
ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วยความ
สามารถที่มีอยู่แต่แรกบวชของ
พุทธทาสภิกขุนั่นคือ การเผยแผ่
ธรรมะโดยการเทศน์ ท่านได้
ริเริ่มการเทศน์ในรูปของปาฐกถา
ธรรมที่ประยุกต์ทั้งรูปแบบ และ
เนื้อหาของธรรมะที่แสดงให้
สมสมัย โดยเปิดฉากครั้งแรก
ที่พุทธธรรมสมาคม กรุงเทพฯ ตามคำอาราธนาของ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อ
วันที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๔๘๓ โดยแสดงธรรมเรื่อง "วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม"
ซึ่งใช้เวลานานถึง ๒ ชั่วโมง ๑๕ นาที การแสดงปาฐกถาธรรมของพุทธทาสภิกขุ
แต่ละครั้งนั้น  สามารถตรึงผู้ฟังจำนวนนับร้อยหรือพัน ให้สนใจติดตามอย่างสนใจ
ได้โดยอาศัยการพูดที่กระชับชัดเจน และเรียงร้อยความไว้อย่างดี จนผู้ฟังเกิด
ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งได้ว่าธรรมะขั้นโลกุตระ อันคนทั่วไปมักคิดว่าพ้นโลกหรือไม่
มีจริงนั้น แท้จริงคือหัวใจของพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเป็นวิทยาศาสตร์
สามารถจะพิสูจน์และนำไปปฏิบัติให้เกิดผล และเห็นชัดได้โดยตนเองทุกเวลา
รูปปั้นท่านอาจารย์พุทธทาส ที่วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ความสามารถดังกล่าวนี้ ทำให้นาม "พุทธทาสภิกขุ"
ร่ำระบือกลายเป็นพระนักเทศน์สนับสนุนให้การเผยแผ่
ธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นอีก โดยเฉพาะ
เมื่อสื่อมวลชนให้ความสนใจมาฟังธรรม และนำไป
เขียนเชิญชวนให้ผู้อ่าน ร่วมกันติดตามผลงานเขียน
และพูดของพุทธทาสภิกขุ แล้วกองทัพธรรมซึ่งตั้ง
หลักอยู่ที่ไชยาก็เริ่มยาตราออกสู่ทิศานุทิศเป็นลำดับ
พุทธทาสภิกขุ ได้รับการอาราธนาให้เดินทางไป
แสดงธรรมยังที่ต่างๆ บ่อยครั้ง เช่น ที่กรุงเทพฯ
แสดงธรรมที่โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลศิริราช
ธรรมศาสตร์-จุฬา กรมสรรพากร กระทรวงยุติธรรม สมาคมจีนตงฮั้ว ฯลฯ
และเดินทางไปยังจังหวัดอื่นๆ เช่น เพชรบุรี ราชบุรี พิษณุโลก สุโขทัย เชียงใหม่
ฯลฯ รวมไปถึงการแสดงธรรมตามวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยครู ในจังหวัด
ต่างๆ ด้วย เฉพาะที่เชียงใหม่นั้น ได้เดินทางไปหลายครั้ง เพื่อให้คำแนะนำแก่
กิจการของคณะพุทธนิคม และการจัดตั้งวัดแบบสวนโมกข์ที่วัดอุโมงค์ การ
เผยแผ่ธรรมะที่เชียงใหม่นี้ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีก เมื่อท่านได้ขอร้องให้ 
ปัญญานันทภิกขุ 
สหธรรมิกผู้น้อง ซึ่งถูกอัธยาศัยกันมาตั้งแต่ครั้งเคย
จำพรรษาที่สวนโมกข์เก่าด้วยกันในปี ๒๔๗๙ มาเป็นผู้สานต่อกิจกรรม
ประกาศธรรมในภาคเหนือนี้
                                            ปัญญานันทภิกขุ-พุทธทาสภิกขุ ที่เคียงข้างกันในการเผยแผ่-ส่งเสริมพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกข์เก่า

ตามรอยพระอรหันต์ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๔)


เมื่อพระมหาเงื่อมตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะกลับบ้าน ก็ได้มีจดหมายถึง
นายยี่เกยผู้น้องชาย ความตอนหนึ่งว่า
"เราตกลงใจกันแน่นอนแล้วว่า กรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นที่ที่จะค้นพบความบริสุทธิ์
การถลำเข้าเรียนปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ เป็นผลดีให้เรารู้สึกตัวว่า
เป็นการก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง หากรู้ไม่ทันก็จะต้องก้าวไปอีกหลายก้าว และยาก
ที่จะถอนออกได้เหมือนบางคน จากการรู้สึกว่าก้าวผิดนั่นเอง ทำให้พบเงื่อนว่า
ทำอย่างไรเราจะก้าวถูกด้วย 
เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมา จนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้ ต่อนี้ไป เราจะ
ไม่เดินตามโลก และลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์ ตามรอยพระอริยะที่ค้นแล้ว
จนพบ...
" และ "ฉันมืดแปดด้าน ไม่รู้ว่าจะไปขออาศัยสถานที่ที่ไหน เพื่อการ
ศึกษาของเราจึงจะเหมาะนอกจากบ้านเราเอง และไม่มีที่ไหนนอกจากบ้านเรา
คือที่พุมเรียง ก่อนที่อื่น จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือรบกวนในบางอย่าง
คือต้องมีผู้ช่วยให้ได้โอกาสเรียนมากที่สุด และใครๆ จงถือเสียว่า ฉันไม่ได้
กลับออกมาพักอยู่ที่พุมเรียงเลย การกินอยู่ขอรบกวนให้มีการเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมสักเล็กน้อย คือถ้าไม่อยากทำอย่างอื่น ข้าวที่ใส่บาตรจะคลุกน้ำปลา
เสียสักนิดก็จะดี ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจะไม่รบกวนอย่างอื่นอีกเลย ฉันจะ
เป็นผู้พิสูจน์ให้เพื่อนกันเห็นว่า พระอรหันต์แทบทั้งหมด มีชีวิตอยู่ด้วยข้าว
สุกที่หุงด้วยปลายข้าวสารหัก และราดน้ำส้มหรือน้ำผักดองนิดหน่อยเท่านั้น
เราลองกินข้าวสุกของข้าวสารที่เป็นตัว และน้ำปลา ก็ยังดีกว่าน้ำส้ม และเรา
ลองกินอยู่เดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าไม่มีการขัดข้องเลย ที่จะกินต่อไป..
"
โบสถ์หลังนี้ ในวัดร้างตระพังจิก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีเพียงหลังคาสังกะสีเล็กๆ พอคุ้มฝนให้พระพุทธรูป และท่านพุทธทาสก็ทำเพิงอาศัยอยู่หลังพระพุทธรูปนั้นประมาณ ๒ ปีแล้วในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕
พระมหาเงื่อมก็เดินทางกลับถึง
บ้านเกิดที่พุมเรียง และเข้าพัก
ชั่วคราวในโบสถ์วัดใหม่พุมเรียง
การกลับมาครั้งนี้ มีเพียงโยม
น้องชายและเพื่อนในคณะ
ธรรมทานประมาณ ๔-๕ คน
เท่านั้น ที่ร่วมรับรู้ถึงปณิธาน
อันมุ่งมั่นของพระมหาเงื่อม
ทุกคนเต็มอกเต็มใจที่จะหนุน
ช่วยด้วยความศรัทธา โดยพากันออกเสาะหาสถานที่ ซึ่งคิดว่ามีความวิเวกและ
เหมาะสมจะเป็นสถานที่ เพื่อการทดลองปฏิบัติธรรมตามรอยพระอรหันต์
สำรวจกันอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็พบวัดร้างเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ไร่ ชื่อ 
ตระพังจิก
 ซึ่งรกร้างมานาน บริเวณเป็นป่ารกครื้ม มีสระน้ำใหญ่ซึ่งร่ำลือ
กันว่า มีผีดุอาศัยอยู่ เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว คณะอุบาสกดังกล่าวก็จัดทำเพิง
ที่พัก อยู่หลังพระพุทธรูปเก่าซึ่งเป็นพระประธานในวัดร้างนั้น แล้ว
พระมหาเงื่อมก็เข้าอยู่ในวัดร้างตระพังจิก เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๕
อันตรงกับวันวิสาขบูชา โดยมีเพียงอัฐบริขาร ตะเกียง และหนังสืออีกเพียง
๒-๓ เล่มติดตัวไปเท่านั้น
หนังสือ "ตามรอยพระอรหันต์" เป็นหนังสือเล่มแรกที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเขียนขึ้นหลังมาพำนักอยู่ที่สวนโมกข์
เข้าไปอยู่ได้ไม่กี่วัน วัดร้างนามตระพังจิกนี้ ก็ได้รับการตั้งนาม
ขึ้นใหม่โดยพระมหาเงื่อม ซึ่งเห็นว่า บริเวณใกล้ที่พักนั้น มีต้น
โมกและต้นพลาขึ้นอยู่โดยทั่วไป จึงคิดนำคำทั้งสองมาต่อเติม
ขึ้นใหม่ ให้มีความหมายในทางธรรม จึงเกิดคำว่า
"สวนโมกขพลาราม" อันหมายถึง "สวนป่าอันเป็นกำลังแห่ง
ความหลุดพ้นจากทุกข์" ขึ้นในโลกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พร้อมๆ กับการเริ่มภารกิจตามที่ใจมุ่งมั่น โดยเริ่มการขบคิดเรื่องต่างๆ และ
ลงมือค้นคว้าพระไตรปิฎกต่ออีกด้วยตนเอง เมื่อถึงเดือนสิงหาคม ๒๔๗๕
ก็เริ่มถ่ายทอดอุดมคติอันตนศรัทธาเชื่อมั่น ออกเป็นงานเขียนเรื่อง
"ตามรอยพระอรหันต์" หัวใจของพระมหาหนุ่มในเวลานั้น เต็มเปี่ยม
ด้วยรู้สึกที่จะมอบกายถวายชีวิตให้กับงานของพระศาสดา จึงตั้งนาม
ตนเองขึ้นใหม่ว่า "พุทธทาส" ตามบทสวดตอนหนึ่งในภาษาบาลี 

นาม"พุทธทาส" จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันเรื่อยมาจนบัดนี้


ก่อนกำเนิดสวนโมกข์ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๗๔)


 โยมบิดา เป็นชาวจีนเกิดในไทย สกุลเดิมแซ่โค้ว บรรพบุรุษมาตั้งรกรากที่พุมเรียง เมืองไชยา ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์         โยมมารดา เป็นคนไทย เกิดที่ท่าฉาง เมื่อสมรสแล้วได้ย้ายมาอยู่กับสามีที่พุมเรียง        พ.ศ. ๒๔๕๓ ด.ช.เงื่อม วัย ๔ ขวบ
      นายเซี้ยง พานิช              นางเคลื่อน พานิช          ด.ช. เงื่อม พานิช
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หรือ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙
บุตรชายคนหัวปีของครอบครัว นายเซี้ยง และ นางเคลื่อน พานิช ได้ถือกำเนิดขึ้น
ณ บ้านตลาด พุมเรียง จ.ไชยา (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จ. สุราษฎร์ธานี) ไม่มีใคร
ในเวลานั้น จะคาดคิดไปถึงว่า เด็กชายที่เรียกชื่อในเวลาต่อมาว่า "เงื่อม" นั้น จะ
เติบโตกลายเป็นมหาเถระผู้สืบแสงเทียนธรรมแห่งพระศาสนา ที่กำลังอ่อนล้า
ให้มีพลังเจิดจ้าขึ้นอีกในยุคสมัยต่อมา ในนามของ "พุทธทาสภิกขุ"
ด.ช.เงื่อม กับ นายเซี้ยง บิดาและ ด.ช.ยี่เก้ย น้องชายเด็กชายเงื่อม มีน้องอีก ๒ คน คนรองเป็นชาย
ชื่อยี่เกย พานิช ซึ่งเติบใหญ่กลายเป็นคู่คิด ผู้ร่วม
อุดมคติแห่งการจรรโลงพระศาสนา ร่วมกับ
พี่ชายในนาม "ธรรมทาส" และน้องสุดท้อง
เป็นหญิงชื่อ กิมซ้อย พานิช (เหมะกุล) พี่น้อง
ทั้งสามคนใกล้ชิดสนิทสนม และเติบโตมาใน
ครอบครัวที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวิถี
ชีวิตแบบชุมชนชนบททั่วไป ด.ช. เงื่อม เอง
ได้รับอิทธิพลชื่นชอบการแต่งบทกวีและงาน
ช่างไม้จากบิดา และได้รับการอบรมสั่งสอน
จากมารดาให้เป็นคนที่ทำอะไรจะต้องทำให้ดีที่สุด และประหยัดละเอียดรอบคอบ
เมื่ออายุได้ ๘ ปี พ่อแม่ได้นำไปฝากให้รับการศึกษาเบื้องต้นแบบโบราณ คือ
ไปใช้ชีวิตเป็นเด็กวัดอยู่ ๓ ปี ที่วัดพุมเรียง ที่นี่ ด.ช. เงื่อม ได้เรียนรู้เรื่อง
การแพทย์โบราณ การสวดมนต์ไหว้พระ การอุปัฎฐากพระ งานช่างไม้
ไปจนถึงการเริ่มหัดเรียนเขียนอ่าน ก.ข. ก กา จนเมื่ออายุได้ ๑๑ ปี จึงมา
เรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนโพธิพิทยากร (วัดเหนือหรือวัดโพธาราม)
และต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเดียวกัน จนเมื่อบิดามเปิดร้านค้าอีกร้าน
ใน ต.ตลาด จึงย้ายมาเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสารภีอุทิศ
บันทึกของครูและครูใหญ่ ในสมุดพกชั้นประถมศึกษาของ ด.ช.เงื่อม บอก
กล่าวการเล่าเรียนและอุปนิสัยของ ด.ช.เงื่อม ไว้เมื่อแรกเริ่มว่า "ประพฤติเป็น
คนอยู่ปรกติไม่ค่อยได้ ท่าทางอยู่ข้างองอาจ ในเวลาทำการมักชักเพื่อนคุย
มารยาทพอใช้ ทำการงานสะอาด" และสรุปรวบยอดในปลายปีว่า
"๑. มีความหมั่นดี ทำการงานรวดเร็ว ๒. ไม่เคยประพฤติรังแกเพื่อน
และยังไม่เคยต้องบังคับให้มาเรียน ๓. นิสัยจำอะไรแม่น และชอบทำ
สิ่งที่เป็นจริง ๔. ปัญญาพออย่างธรรมดาคน"
ก่อนที่จะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน ด้วยโรคลมปัจจุบัน
ในปี ๒๔๖๕ นายเงื่อมหนุ่มน้อยจึงต้องลาออกจากโรงเรียน มาเป็นผู้ดูแลร้านค้า
ในฐานะบุตรชายคนโต แม้กระนั้น ร้านไชยาพานิช ที่ พุมเรียง จ.ไชยา (สุราษฎร์ธานี)ความเป็นผู้ใฝ่การเรียนรู้ ก็ทำให้นายเงื่อมยัง
คงเป็นนักอ่านหนังสือ และรักการถกเถียง
หาความรู้อยู่เนืองนิจ หนังสือต่างๆ โดย
เฉพาะหนังสือธรรมะ ที่ใช้ในการเรียน
นักธรรมตรี โท เอก ก็เสาะหามาอ่านจน
ปรุโปร่ง ร้านไชยาพานิช ของผู้จัดการ
หนุ่มนามเงื่อมผู้นี้ ก็เป็นเวทีอันคึกคักของ
ผู้ชอบการศึกษา ถกเถียง มาตั้งวงถกธรรมะ
กันอย่างได้รสชาติและความรู้ ตัวเจ้าของ
ร้านเอง ก็แสดงความสามารถในการแจกแจง
ข้อธรรมะได้อย่างชัดเจน จนใครต่อใคร
พากันยอมรับนับถือ การศึกษาพระธรรมในเวลาดังกล่าว ก่อให้เกิดความสนุก
สนานทางความคิดแก่พ่อค้าหนุ่มเป็นอย่างมากทีเดียว              

   

ผลงานแห่งชีวิต


ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่"
เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม
หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน
สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ
นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ
๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ
๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา"
ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย
เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว
ที่สุดของไทย
๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จาก
ปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ
ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ
๑. หมวด"จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎก
     ฉบับ ภาษา บาลี โดยตรง
๒. หมวด"ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบายข้อธรรมะ ที่เป็นหลักวิชา
     และหลักปฏิบัติ
๓. หมวด"ธรรมเทศนา"เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ
๔. หมวด"ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความ ข้อธรรมะ เพื่อ
     ให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
๕. หมวด"ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะ เบ็ดเตล็ด ต่างๆ
     ประกอบ ความเข้าใจ
ปัจจุบัน หนังสือชุดนี้ ได้ตีพิมพ์ เป็นหนังสือ ขนาด ๘ หน้ายก หนาเล่มละ
ประมาณ ๕๐๐ หน้า จำนวน ๖๑ เล่ม แล้ว ที่ยังรอการจัดพิมพ์ อีกประมาณ
ร้อยเล่ม 
๔. การปาฐกถาธรรมของท่าน ที่ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์ วิจารณ์ ทั้งในแง่
วิธีการ และ การตีความพระพุทธศาสนา ของท่าน กระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจ
ธรรมะกันอย่างลึกซึ้งแพร่หลายมากขึ้น ครั้งสำคัญๆ ได้แก่ ปาฐกถาธรรม เรื่อง
"ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม" "อภิธรรมคืออะไร" "ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร"
"จิตว่าง หรือ สุญญตา" "นิพพาน" "การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม"
"การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น
๕. งานประพันธ์ ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์" "ชุมนุมเรื่องสั้น"
"ชุมนุมเรื่องยาว" "ชุมนุมข้อคิดอิสระ" "บทประพันธ์ของ สิริวยาส"
(เป็นนามปากกา ที่ท่านใช้ ในการเขียน กวีนิพนธ์) เป็นต้น
๖. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่าน เล่มสำคัญ คือ "สูตรของเว่ยหล่าง"
"คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่ม เป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนา
นิกายเซ็น เป็นต้น
เกี่ยวกับ งานหนังสือนี้ ท่านเคยให้สัมภาษณ์ กับพระประชา ปสนฺนธมฺโม ว่า
"เราได้ทำสิ่งที่มันควรจะทำ ไม่เสียค่าข้าวสุกของผู้อื่นแล้ว เชื่อว่า มันคุ้มค่า
อย่างน้อย ผมกล้าพูดได้อย่างหนึ่งว่า เดี๋ยวนี้ ไม่มีใครในประเทศไทย บ่นได้ว่า
ไม่มีหนังสือธรรมะอ่าน ก่อนนี้ ได้ยินคนพูดจนติดปาก ว่า ไม่มีหนังสือธรรมะ
จะอ่าน เราก็ยังติดปาก ไม่มีหนังสือธรรมะจะอ่าน ตอนนี้ บ่นไม่ได้อีกแล้ว"
ท่านอาจารย์ พุทธทาส ได้ละสังขาร กลับคืน สู่ ธรรมชาติ อย่างสงบ
ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริรวม อายุ ๘๗ ปี
นับได้ ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ ผลงาน ที่ ทรง คุณค่า แทนตัวท่าน
ให้อนุชน คนรุ่นหลัง ได้ สืบสาน ปณิธาน ของท่าน รับมรดก ความเป็น
"พุทธทาส" เพื่อ พุทธทาส จะได้ไม่ตาย ไปจาก พระพุทธศาสนา
ดังบทประพันธ์ ของท่าน ที่ว่า 
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตายแม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียงนั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตายถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มาตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตายอยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคยโอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้วแต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลายก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตายยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟังเหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิดย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้งทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
พุทธทาส อินทปัญโญ

ปณิธานแห่งชีวิต


อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา
ความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุม
ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น
เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้
ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ
ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่าง
หลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ
พื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้น
เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์
ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม
     เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม
แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้
บางคนไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่า
ท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์
เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้างคนคริสต์ มาทำลายล้าง
พระพุทธศาสนา ก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์
เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทาง
ความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และหลักการ มากกว่า ที่จะ
ก่อความขัดแย้งส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงาน
ว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มีกังวล ในการรักษาชื่อเสียง มี
กังวล แต่การทำความบริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อได้ทำความ
บริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์
เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำ ด้วยความพยายาม
อย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่านึกถึงเลย เป็นอันขาด จะกลายเป็น
เศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย" 
ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทย
 และวงการศึกษาธรรมะของโลก ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่ง
กองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล 
สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ
๑. เป็นพระครูอินทปัญญาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๙
๒. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยนันทมุนี พ.ศ. ๒๔๙๓
๓. เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชชัยกวี พ.ศ. ๒๕๐๐
๔. เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิเมธี พ.ศ. ๒๕๑๔
๕. เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ พ.ศ. ๒๕๒๐
แม้ท่านจะมีชื่อ สมณศักดิ์ ตามลำดับ หลายชื่อ แต่ท่านจะใช้ ก็ต่อเมื่อมี
ความจำเป็นต้องติดต่อ ทางราชการ เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้ว ท่านจะใช้
ชื่อว่า "พุทธทาส อินทปัญโญ" เสมอ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตัว
ของท่าน ประการหนึ่ง ชื่อ พุทธทาสนี้ เป็นที่มาแห่งอุดมคติ ของท่านนั่นเอง
ปริญญาทางโลก ที่ท่านได้รับ
๑. พุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
     จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
     จาก มหาวิทยาลัย ศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๘
๓. ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขา วิชาศึกษาศาสตร์
     จาก มหาวิทยาลัย รามคำแหง พ.ศ. ๒๕๒๘
๔. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา
     จาก มหาวิทยาลัย สงขลา นครินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๕. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา
     จาก จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐
๖. การศึกษา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์
    จาก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๒
๗. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    จาก มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖
ในระดับนานาชาติ ปัจจุบัน ทุกมหาวิทยาลัย ที่มีแผนก สอนวิชาศาสนาสากล
ทั้งในยุโรป และ อเมริกาเหนือ ล้วน ศึกษางานของท่าน หนังสือของท่าน กว่า
๑๔๐ เล่ม ได้รับการแปลเป็น ภาษาอังกฤษ, กว่า ๑๕ เล่ม เป็นภาษาฝรั่งเศส,
และ อีก ๘ เล่ม เป็น ภาษาเยอรมัน นอกจากนั้น ยังแปลเป็นภาษา จีน อินโดนีเซีย
ลาว และ ตากาล็อค อีกด้วย กล่าวได้ว่า ในประวัติศาสตร์ไทย ท่านอาจารย์
พุทธทาส มีผลงานที่เป็น หนังสือแปลสู่ต่างประเทศ มากที่สุด

อุดมคติแห่งชีวิต


        พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ
ท่านจึงตัดสินใจ หันหลังให้กับการศึกษาของ
สงฆ์ เวลานั้น กลับไชยา เพื่อศึกษา และทดลอง
ปฏิบัติ ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับ
นายธรรมทาส และ คณะธรรมทาน จัดตั้ง
สถานปฏิบัติธรรม "สวนโมกขพลาราม" ขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้น ท่านได้ศึกษา
และปฏิบัติธรรมะ อย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่า
ท่านมาไม่ผิดทางแน่ และได้ประกาศ ใช้ชื่อนาม
"พุทธทาส" เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึง
อุดมคติสูงสุด ในชีวิตของท่าน
นาม "พุทธทาส" ได้มาจากบทสวดภาษาบาลี ปรากฏครั้งแรก ในงานเขียน "ตามรอยพระอรหันต์" 
จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศ
เผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา...
"

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พุทธทาส กำเนิดแห่งชีวิต

    ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ  การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ
ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้นเรื่องความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่งเสียชีวิต
    ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของ
ชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ"
แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน
ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง
ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดง
ธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคย
ถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
ในการใช้ชีวิตท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็น
ประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด
"
"..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"
ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่าน
ควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี
ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้น
เกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด

นาย ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะ
ธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม